อัลไซเมอร์ ภัยเงียบของผู้สูงวัย
อัพเดทล่าสุด: 24 ก.พ. 2024
317 ผู้เข้าชม
โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักเป็นในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เกิดการเสื่อมถอยในการทำงานของสมองจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หลงลืม หาของไม่เจอ หลงทางในที่คุ้นเคย เป็นต้น
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ พบมากขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่จะพบเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยสิติของประเทศไทย พบว่าผู้มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยโรคอัลไซมเมอร์ จำนวนมาก โดยพบร้อยละ 10-15% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30% เมื่ออายุมากกว่า 80 ปี และในปี 2566 นี้มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและกำลังก้าวเข้าสั่งคมผู้สูงอายุ ซึ่งโรคอัลไซเมอร์นี้เป็นโรคที่สำคัญมากที่อยู่ไม่ไกลตัวเรา แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดความรุนแรงและเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และผู้ดูแลให้ดีขึ้น
อาการแบบไหน เข้าข่ายอัลไซเมอร์
อาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว แบ่งได้เป็น 3 ระยะ
- ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างยังสามารถดูแลได้
- ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือจากที่เป็นคนอารมณ์ร้อนก็กลับกลายเป็นเงียบขรึม และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรสนอกใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและเข้าสังคม
- ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี
จะดีแค่ไหนถ้าคนที่ "คุณรัก...จดจำ" คุณได้นานขึ้น
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หากได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดความรุนแรงและเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และผู้ดูแลให้ดีขึ้น Panacee Wellness Nursing Care พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยการออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วย ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยแบบครบวงจร โดยทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด และสหสาขาวิชาชีพ ที่มีประสบการณ์ โดย เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงภายใต้มาตรฐานโรงพยาบาล โดยการใช้นวัตกรรมการรักษาฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นการรักษาไปที่สาเหตุการเจ็บป่วย ฟื้นฟูเซลล์สมองและระบบประสาทที่เสียหายเป็นหลัก ประกอบกับโปรแกรมกายภาพบำบัดอย่างเต็มรูปแบบ
ปรึกษา Panacee Nursing Care ได้ที่
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/นัดหมายชมสถานที่ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
เบอร์โทรศัพท์ 1608
โรงพยาบาล พานาซี พระราม2 เส้นถนนพระราม 2 สมุทรสาคร
บทความที่เกี่ยวข้อง